นกยูงอินเดีย

6027 จำนวนผู้เข้าชม  | 

นกยูงอินเดีย

ลักษณะ
มีขนาดเล็กกว่านกยูงไทย (P. muticus) ซึ่งเป็นนกยูง อีกชนิดหนึ่งที่พบได้ในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน
จนถึงแหลมมลายูเล็กน้อย ขนหงอนจะมีลักษณะเป็นรูปพัดต่างจากนกยูงไทยที่เป็นกระจุก สีของผิวหนังบริเวณหน้าจะมีสีขาว
และมีสีดำคาดบริเวณตา ขนบริเวณคอ และอกมีสีน้ำเงิน ขนบริเวณปีกเป็นลายสีขาวสลับกับสีดำ ขนตามลำตัวจะมี สีเขียวอมน้ำเงิน
ด้านหลังเป็นเกล็ดคล้ายใบไม้ ในตัวเมียนั้นจะมีขนาด เล็กกว่าตัวผู้ ขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาล ขนคอ และหลังจะมีสีอ่อนกว่าตัวผู้


ถิ่นอาศัย 
พบกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย, ปากีสถาน, เนปาล, บังกลาเทศ, ภูฏาน และศรีลังกา

การขยายพันธุ์
นกยูงอินเดียตัวผู้ตัวเต็มวัย เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดู สืบพันธุ์ จะมีขนคลุมหางที่ยาวออกมาประมาณ 2 เท่าของลำตัว
หรือประมาณ 150 เซนติเมตร ประกอบด้วยขน 2 ประเภทด้วยกัน คือ ขนที่มีวงกลม ซึ่งเรียกว่า "แววมยุรา"
และขนที่อยู่บริเวณขอบ เรียกว่า "T Feathers" ซึ่งบริเวณนี้ จะไม่มีแววมยุรา ขนคลุมหางของนกยูง
หนึ่งตัวจะประกอบด้วยขนคลุมหาง ประมาณ 200 เส้น แบ่งเป็นขนที่มี แววมยุราประมาณ 170 เส้น
และขนคลุมหางที่เป็นขอบหรือ T-feathers อีกประมาณ 30 เส้น ซึ่งขนคลุมหางนี้ จะมีเพื่อการเกี้ยวพาราสีตัวเมีย

ในฤดูสืบพันธุ์ ที่เรียกว่า "การรำแพน" นกยูงอินเดียวางไข่ ครั้งละ 5-8 ฟอง ระยะฟักไข่นาน 28 วัน
และในระยะที่เป็นวัยอ่อนนั้นจะมีความแตกต่างกับนกยูงที่ตัวโตเต็มวัยทั้งสีขนและขนาดของลำตัว
ลูกนกยูงในวัยนี้จะไม่สามารถระบุเพศได้จากการสังเกตลักษณะ และสี ของขนจากภายนอก
จนกว่าลูกนกจะมีอายุ 8 เดือน จึงจะสามารถ ระบุเพศ
จากการสังเกตลักษณะภายนอกและสีของขนได้ แต่ถ้ามอง ผิวเผิน อาจจะเหมารวมได้ว่าเป็นลูกนกชนิดเดียวกัน


นิสัย
มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงในป่าดงดิบทึบ ตัวผู้ชอบทำลานเอาไว้รำแพนหางและจะรักษาความสะอาดลานอย่างดี
เป็นนกที่ระวังตัวมากและสายตาไวมาก ยากที่จะเข้าใกล้ตัวได้จะบินหนีก่อน เป็นนกที่บินเก่ง ชอบนอนที่สูงและชอบร้อง
เวลาเช้าและเย็น เป็นนกที่จดจำที่อยู่ของตน ได้เป็นอย่างดี

Powered by MakeWebEasy.com