หงส์ดำ

5164 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หงส์ดำ

ลักษณะ
ลักษณะทั่วไปคล้ายกับหงส์ชนิดอื่น ๆ แต่มีลักษณะเด่น คือ ตัวผู้มีสีขนทั่วตัวสีดำอมเทา
ยกเว้นขนปีกสำหรับบินเส้นยาวเท่านั้น ที่เป็นสีขาวซึ่งตัดกับลำตัวเห็นเด่นชัดสะดุดตา นัยน์ตาสีแดงเข้ม
จะงอยปากสีแดงแต่มีแถบขาว ปลายปาก ขาและเท้าสีดำ ขณะที่ตัวเมีย เหมือนตัวผู้ทุกประการ
แต่มีขนาดเล็กกว่าและลำคอสั้นกว่ามีขนาดโตเต็มที่ มีความยาวประมาณ 110–142 เซนติเมตร น้ำหนัก 3.7–9 กิโลกรัม
ความกว้างของปีกจากข้างหนึ่งไปถึงอีกข้างหนึ่ง 1.6–2 เมตร

ถิ่นอาศัย กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในพื้นที่ชุ่มน้ำของ ประเทศออสเตรเลีย
เช่น รัฐนิวเซาท์เวลส์, รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย รวมถึงเกาะแทสมาเนีย

นิสัย
มีพฤติกรรมชอบรวมกันเป็นฝูงเล็กๆ หากินสัตว์น้ำชนิดต่างๆ รวมถึงพืช เมล็ดพืช เป็นอาหาร โดยสามารถ
พบได้ถึงแหล่งน้ำกร่อย หรือน้ำเค็มได้ด้วย เสียงร้องเหมือนเสียงทรัมเป็ต มักร้องในเวลาเย็น
หรือกลางแสงจันทร์ในคืนเดือนหงายขณะกำลังบิน

การขยายพันธุ์
เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2 ปี ทำรังโดยการใช้ เศษกิ่งไม้หรือ ใบไม้แห้งมาปู วางไข่ครั้งละ 5-6 ฟอง
ไข่มีสีขาวแกมเขียว ระยะเวลาฟักไข่นาน 34-37 ฟอง 
หงส์ดำ เป็นนกที่ไม่พบในประเทศไทย

แต่มีรายงานว่าในต้นเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2555
พบตัวผู้ตัวหนึ่งลอยคออยู่ในสระน้ำพรุนาแด้ อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง สันนิษฐานว่าอาจหลุดมาจากที่เลี้ยง หรือในสวนสัตว์
ที่ใดที่หนึ่ง 
ปัจจุบัน หงส์ดำมีการเพาะขยายพันธุ์ด้วยฝีมือมนุษย์
นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงกัน โดยมีราคาซื้อขายที่แพงมาก

Powered by MakeWebEasy.com